การโฟกัสโดยใช้ฟังก์ชั่นรับรู้วัตถุ
หากท่านตั้งค่าวัตถุล่วงหน้า กล้องจะรับรู้วัตถุโดยอัตโนมัติและสามารถโฟกัสที่ตา ฯลฯ เมื่อถ่ายภาพ
ตารางนี้อธิบายถึงวิธีสองวิธีในการโฟกัสและถ่ายภาพโดยใช้การรับรู้วัตถุ โปรดเลือกวิธีที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของท่าน
รายการ | ฟังก์ชั่น [การรับรู้วัตถุใน AF] | [AF การรับรู้วัตถุ] ผ่านคีย์กำหนดเอง |
---|---|---|
การเตรียมการล่วงหน้า |
|
|
วิธีการโฟกัส | กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง*1 | กดคีย์ที่ท่านได้กำหนดฟังก์ชั่น [AF การรับรู้วัตถุ] ไว้*2 |
รายละเอียดของฟังก์ชั่น |
|
|
โหมดโฟกัส | ตามการตั้งค่าที่กำหนดด้วย [โหมดโฟกัส] | ตามการตั้งค่าที่กำหนดด้วย [โหมดโฟกัส] |
พื้นที่โฟกัส | ตามการตั้งค่าที่กำหนดด้วย [บริเวณปรับโฟกัส] | พื้นที่โฟกัสจะกลายเป็นหน้าจอทั้งหมดชั่วคราว โดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่าสำหรับ [บริเวณปรับโฟกัส] |
*1 การทำงานนี้ใช้เพื่อโฟกัสขณะถ่ายภาพนิ่งเมื่อถ่ายภาพเคลื่อนไหว กล้องจะโฟกัสที่วัตถุที่รับรู้ได้ แม้ท่านจะไม่ได้กดปุ่มชัตเตอร์ก็ตาม
*2 ไม่ว่าจะตั้งค่า [การรับรู้วัตถุใน AF] เป็น [เปิด] หรือ [ปิด] หากได้กำหนด [AF การรับรู้วัตถุ] ให้กับคีย์กำหนดเอง ท่านสามารถใช้ [AF การรับรู้วัตถุ] ขณะกดคีย์กำหนดเองได้
การโฟกัสดวงตาของสัตว์หรือนก
ก่อนการถ่ายภาพ ให้ตั้งค่า [เป้าหมายการรับรู้] เป็น [สัตว์], [นก] หรือ [สัตว์/นก] ตามวัตถุ ท่านสามารถเลือก [ตา/หัว/ลำตัว], [ตา/หัว] หรือ [ตา] เป็นส่วนการรับรู้ที่ต้องการเน้น
การโฟกัสแมลง
ก่อนการถ่ายภาพ ให้ตั้งค่า [เป้าหมายการรับรู้] เป็น [แมลง]
การโฟกัสรถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน
ก่อนการถ่ายภาพ ให้ตั้งค่า [เป้าหมายการรับรู้] เป็น [รถยนต์/รถไฟ] หรือ [เครื่องบิน]
คำแนะนำ
- การตั้งค่า [แสดงเฟรมรับรู้วัตถุ] เป็น [เปิด] จะทำให้การตรวจสอบสถานะการตรวจจับใบหน้าหรือดวงตา ฯลฯ เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น
-
[AF การรับรู้วัตถุ] โดยใช้คีย์กำหนดเองจะอำนวยความสะดวกสำหรับกรณีต่อไปนี้
- เมื่อต้องการใช้ [AF การรับรู้วัตถุ] โดยชั่วคราวกับทั้งหน้าจอขณะกดคีย์เท่านั้น ไม่ว่าจะตั้งค่า [บริเวณปรับโฟกัส] เป็นอย่างไร
- เมื่อไม่ต้องการโฟกัสอัตโนมัติหากกล้องไม่รับรู้วัตถุ
- วางตำแหน่งวัตถุทั้งหมดในมุมภาพที่ทำให้รับรู้วัตถุได้ง่ายขึ้น
หมายเหตุ
- อาจเกิดความยุ่งยากในการโฟกัสวัตถุในกรณีต่อไปนี้
- ในสภาวะที่แสงน้อยหรือย้อนแสง
- เมื่อวัตถุอยู่ในที่ร่ม
- เมื่อวัตถุอยู่นอกโฟกัส
- เมื่อวัตถุเคลื่อนไหวมากเกินไป ฯลฯ
- อาจเกิดความยุ่งยากในการโฟกัสดวงตาในกรณีต่อไปนี้ แม้กล้องจะรับรู้ดวงตาได้
- เมื่อหลับตา
- เมื่อเส้นผมปิดดวงตา ฯลฯ
- เมื่อบุคคลในภาพใส่แว่นกันแดด
- ยังมีสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจทำให้ไม่สามารถโฟกัสวัตถุได้
- เมื่อกล้องไม่สามารถโฟกัสในส่วนที่ต้องการเน้น เช่น ตาของวัตถุ กล้องอาจโฟกัสในส่วนอื่นที่รับรู้โดยอัตโนมัติ เช่น ศีรษะหรือลำตัวของวัตถุ
- แม้ว่าจะมีเฟรมรับรู้วัตถุสีขาวแสดงขึ้นรอบใบหน้า ฯลฯ ของวัตถุ กล้องอาจโฟกัสในส่วนที่ท่านเน้นโดยอัตโนมัติ เช่น ดวงตาของวัตถุ
- อาจไม่รับรู้วัตถุหากมีเพียงส่วนหนึ่งของวัตถุภายในมุมภาพ
- เมื่อมองเห็นเพียงมือและเท้าของคนหรือสัตว์
- เมื่อส่วนของวัตถุถูกซ่อนและมองไม่เห็น ฯลฯ
- ในบางสภาวะ กล้องอาจรับรู้ว่าวัตถุอื่นเป็นวัตถุที่กำหนดไว้โดยบังเอิญ